วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 4
วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ.2559




  บรรยากาศในห้องเรียน

ครูเช็คชื่อเสร็จ แล้วก็แจกกระดาษให้นักศึกษา เขียน ชื่อตกแต่ง แต่ว่าให้ เขียนแบบร่างๆก่อน ค่อยไปตกแต่งที่บ้านและไปแปะบนกระดาน แล้วครูทำตารางที่ให้ไปแปะ คือ คนมา คนไม่มา และยังไม่มา หรือมาสาย

ตารางบนกระดาน

เอาชื่อมาแปะบนกระดาน






        เราสามารถจัดประสบการณ์ในชีวิตประจำวันให้กับเด็กได้ คือ จัดให้เห็นว่า การมาเรียนมีการเช็คชื่อ มาไม่มา เป็นตัวแสดงให้เด็กเห็นว่าเป็นการเช็คชื่อ แล้วพอกลับบ้านก็เอาป้ายชื่อเราติดข้างล่าง พอมาโรงเรียนก็เอาไปติดช่องที่มา เด็กจะได้ ทักษะการนับ จำนวนมีค่าเท่ากับ คนที่มา การนับคือการเพิ่มขึ้นที่ละ 1 อาจจะมีากรเพิ่มคอนเซ็บในการนับ เช่น นับ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2  2  เพิ่มอีก 1 เป็น 3   3 เพิ่มอีก 1 เป็น 4 จากน้อยกลายเป็นเยอะขึ้น นีคือ พื้นฐานของการบวก แต่เราจะให้เด็กรู้ทักษะนี้ก่อนเป็นทักษะพื้นฐาน
(ได้การนับจำนวน) มีการกำกับเลขมาก่อน คนที่ 1 2 3 เรียงลำดับมาก่อนเพื่อนสร้างความภูมิใจให้แก่เด็กแล้วพอสิ้นสุดจะเขียนกำกับลงไปว่า มาทั้งหมด กี่คน ไม่มากี่คน และมีสมาชิกทั้งหมด กี่คน (มีการแยกกลุ่ม) ต่อไปครูก็เปลี่ยนแบบใหม่คือ ลองทำแบบ กลุ่มบ้าง
เช่นมีการกำหนด กลุ่มคือ 5 คน   6 กลุ่ม

เรียงจากคนแรกของกลุ่มที่มาก่อนนถึงหลัง เรียงจากซ้ายไปขวา ลำดับก่อนหลัง  เช่น
   
การออกแบบถเาไม่ใช่กระดาษติดที่ใช้สก็อตเทป อาจจะใช้ กล่องนม แม่เหล็ก กล่องต่างๆ ก้ได้ การออกแบบสื่อแต่ละชิ้นต้องคำนึงถึง วัตถุประสงค์

แล้วเพื่อนๆก็ออกมานำเสนอ บทความ งานวิจัย โทรทัศน์ครู แล้วครูแล้ว ก็สอนร้องเพลงต่างๆ แล้วก็อธิบายเนื้อหาที่สอน เสร็จครูก็ให้นักศึกษาออกมาพรีเซ้นเกี่ยวกับของเล่นที่แต่ละกลุ่มร่างเอาไว้ ครูก็มีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับของเล่นชิ้นนั้นๆ

เพลง สวัสดียามเช้า

เพลง สวัสดีคุณครู

เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน

เพลง เข้าแถว

เพลง จัดแถว

เพลง ซ้าย ขวา


เพลง ขวด 5 ใบ


.บทความ.......เรื่อง: เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล

การพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็ก  3 รูปแบบ

1.เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์ เด็กวัยนี้จะนับเลข 1- 5 ได้ แต่ไม่รู้ถึงจำนวนค่า และเด็กจะยังไม่เข้าใจ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พ่อ แม่ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจให้เด็ก โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์ อาจจะเป็น สิ่งที่เด็กจับต้องได้หรืออาจจะเป็นภาพ เด็กจะสามารถเข้าใจง่ายมากกว่า
 2. เด็กวัยอนุบาลจะทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก การนับสิ่งของที่มี 2 แถว แถวหนึ่งวางห่างกัน แถวสองวางชิดกัน เขาจะบอกว่าแถวที่วางห่างกันมีจำนวนมากกว่า เพราะยาวกว่า คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยอธิบายให้ลูกฟังอย่างใจเย็นที่สุด     3. ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม  ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งสำหรับเด็กวัยอนุบาลยังต้องได้รับการกระตุ้นเรื่องการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น  หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีเขาจะต้องเข้าใจคำว่า เพิ่ม คืออะไร เด็กจะเข้าใจทักษะคณิตศาสตร์มากขึ้นและทำให้สามารถตอบคำถามได้
   
      วิจัย เรื่องทักษะคณิตศาสตร์ที่ได้รับจากการทำอาหารพื้นบ้านอีสาน        
       ของ กุหลาบ ภูมาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ
          การจัดประสบการณ์พื้นบ้านอีสาน เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้โดยที่เด็กลงมือทำ ปฎิบัติจริง เด็กจะเกิดความสนุกสนาน เพราะการประกอบอาหารเป็นสิ่งรอบตัวเด็ก อยากทดลอง ทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้
         -ด้านการเปรียบเทียบ
-        -ด้านการจัดหมวดหมู่
 -       -ด้านเรียงลำดับ
 -        -ด้านการรู้ค่าจำนวน
      กลุ่มการทดลอง
    เด็กอนุบาล 2 ปี 2556 โรงเรียนโลกเต็นวิทยาคม ต.หนองแดง จ. ขอนแก่น
         ทำงานทดลอง
        8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง โดยใช้เวลาในการจัดประสบการณ์ 50 นาที รวม 24 ครั้ง
       ระยะที่ 1 
        ขั้นก่อนเตรียมประกอบอาหาร ใช้สื่อของจริง  เพลง คำคล้องจอง รูปภาพ เพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็ก
      ระยะที่ 2 
       จัดประสบการณืประกอบอาหาร แบ่งกลุ่มละ 5 คน ลงมือปฎิบัติกิจกรรมด้วยตัวเอง โดยเด็กจะได้ การเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ 
   ขั้นที่ 3 
      ขั้นสรุป เป็นการพูดคุยโดยใช้คำถามปลายเปิด เกี่ยวกับวัตถุดดิบอาหาร จากนั้นให้เด็กวาดภาพและออกมาเล่าหน้าชั้นเรียน
    สิ่งที่เด็กได้รับ
-    -รู้จักการคำนวน เช่น ปริมาณ การวัด
     -พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และ มัด ใหญ่ ได้ประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
     - ฝึกการใช้สัมผัสที่ 5 การสังเกต การดมกลิ่น การชิมรส การฟังเสียง  และสัมผัส
-    -ได้การทำงานเป็นกลุ่ม
        สรุปโทรทัศน์ครู เรื่อง สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน

             มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา
ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมต่างๆ ไปสอนและปลูกฝังความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะการใช้   นิทาน  เป็นสื่อในช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทาน  ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนให้กับเด็กๆจะทำให้เด้กเข้าใจและเข้าถึงความรู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป โดยการเล่านิทานลูกหมู 3 ตัวเด็กจะได้ทราบถึงการเปรียบเทียบขนาด น้ำหนัก และขนาด

      สาระความรู้ที่ได้รับ

ได้เรียนรู้ กับตารางมาเรียน ว่าเราสามารถออกแบบ เองได้ตามใจเราเลยทำให้เด็กสามารถ เรียนรู้้า การเรียงลำดับ การนับ การบอกคำได้ การใช้ตัวเลขฮินดูอารบิก การใช้ตัวเลขไทย จำนวน การเรียงลำดับ ก่อนหลัง ได้คำศัพท์ ลำดับที่ 1 ลำดับแรก คนสุดแรก คนสุดท้าย ได้ทักษะการ บวก ลบ การเปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า ภาาษา การแยกกลุม 
คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
ตัวเลข ขนาด รูปร่าง ที่ตั้ง ค่าของเงิน ความเร็ว อุณภูมิ
(เวลา,การคิดอย่างมีเหตุผล ) แต่งประโยค
เช่น ฉันตื่นสายจึงทำให้เข้าเรียนไม่ทันอาจารย์เช็คชื่อ
เกรดเทอมนี้จะได้เท่าไร

สาระที่ 1 :จำนวนและการดำเนินการ
-มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริงคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ต้องทำจริงๆ เห็นจริงๆ จับต้องได้จริงๆ 
จำนวน
-การใช้จำนวนบอก ปริมาณที่ได้รับจากการนับ
-การอ่านตำเลขฮินดูอารบิก และ ตัวเลขไทย
-การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
-การเปรียบเทียบจำนวน
-การเรียงลำดับจำนวน
การรวมและการแยกกลุ่ม
-ความหมายของการรวม
-ความหมายของการแยก
-การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

สาระที่ 2 . การวัด
 มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้ฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และ เวลา

สาระที่ 3.  เรขาคณิต
-มาตรฐาน ค.ป.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทาง
-มาตฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนก เรขาคณิต และ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงเรขาคณิตที่เกิดจากการ จัดกระทำ

    ทักษะที่ได้รับ

-ทักษะการนับ
-ทักษะการเปรียบเทียยบ
-ทักษะการคำนวณ
-ทักษะการคิดจากประเด็นปัญหาที่อาจารย์ได้ถาม
-ทักษะการฟัง
-ทักษะการแก้ปัญหา
-ทักษะด้านภาษา
-ทักษะการแยกกลุ่ม
-ทักษะการออกแบบ
-ทักษะการเขียนเพื่อสรุปการเรียนรู้
เพราะคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา
-ได้ฝึกการคิดและร่วมแสดงความคิดเห็นกับผู้อื่น
-เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กในชีวิตประจำวัน
-รู้เกี่ยวกับการจัดรูปแบบต่างๆ
-การออกแบบสื่อ เราต้องกำหนดจุดประสงค์ก่อน

อาจารย์มีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม มีการสอนเนื้หาจากสไลฟ์ แล้วมีการให้นักศึกษผ่อนคลายด้วยการสอนร้องเพลงต่างๆแถมในเนื้อพลงยังมีความรู้ต่างๆเกี่ยวกับคณิคศาสตร์ เช่น บอกเวลา การเข้าแถว สอนเรื่องวัน อาจารย์มีการอธิบายและแนะแนวทางต่างๆและให้นักศึกษาสามารถที่จะคาดได้สอนเนื้อหาได้ละเอียดและเข้าใจง่าย

ประเมินผล

ปรเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน มาตรงเวลา มีการจดบันทึกต่างๆขณะครูให้ข้อคิด ตั้งมจฟังและมีส่วนร่วมในการตอบคำถามอาจารย์อยู่เสมอ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนมาก ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามบ้างตั้งใจร้องเพลงตามที่ครูสอนกันอย่างสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เปิดโอกาศให้นักศึกษาร่วมแสดงความคิดเห็น มีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการเรียนอยู่เสมอ อธิบายเนื้อหาได้ละเอียดมากๆ และเข้าใจ มีการนำเพลงมาให้นักศึกษาร้องแถามในเพลงยังสอนอะไรอีกหลายอย่างเพราะคณิตศาสตร์อยู่รอบตัวเราในชีวิตประจำวัน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น