บันทึกครั้งที่ 8
วัน พุธ ที่ 2 มีนาคม 2559
ไปศึกษาดูงาน โรงเรียนพิบูลเวศม์
สื่อการสอนและการจัดสภาพแวดล้อม
ผลงานของเด็กๆ
กิจกรรมสร้างสรรค์ การนำหินมาทำเป็นรูปร่างต่างๆ
คณิตศาสตร์ การจัดกลุ่มสี แยกแยะ ขนาดต่างๆ ของก้อนหิน เป็นต้น
การปั้นดินน้ำมัน กำไลหินของตัวเอง
คณิตศาสตร์ ได้ รูปทรงต่างๆ สี ขนาด แยะแยะ จัดหมวดหมู การคิด
การจัดการเรียนการสอน
การเรียนการสอนแบบบูรณาการเน้นพัฒนาการเด็ก ทั้ง 4 ด้าน ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม
สติปัญญา ได้นำวิทยาศาสตร์ , คณิตศาสตร์ และภาษาธรรมชาติ การสอนแบบวอลดอร์ฟมารวมกัน และสอดแทรกคำถาม ทักษะกระบวนการคิด
และประสบการณ์สำคัญของเด็ก
การจัดประสบการณ์เน้นหน่วยทั้งหมด 40 หน่วย เช่น หน่วยผลไม้ , ผัก
ใช้สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องรอบตัว
-การสอนแบบโครงการ Project Approach เป็นนวัตกรรมที่โรงเรียนใช้มาประมาณ 10 กว่าปี
-การสอนแบบโครงการ Project Approach เป็นนวัตกรรมที่โรงเรียนใช้มาประมาณ 10 กว่าปี
การสอนแบบโครงการ
Project
Approach
1 การอภิปราย
2 การทำงานภาคสนาม
3 การนำเสนอประสบการณ์
4 การสืบค้น
5 การจัดแสดง
1.การอภิปราย
เด็กได้ร่วมสนทนากับเพื่อนทั้งกลุ่มย่อย
ทั้งชั้นเรียน เกี่ยวกับสิ่งที่สนใจ ทำให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
ครูเป็นผู้แนะนำสิ่งต่างๆช่วยให้เด็กคิดและสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น
2.การทำงานภาคสนาม
เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง จากการไปศึกษานอกสถานที่ สำรวจสิ่งต่างๆนอกห้องเรียน สถานที่ต่างๆ เช่น ร้านค้า ถนน ป้าย การสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ การทำงานภาคสนามจะช่วยให้เด็กสร้างองค์ความรู้ได้
3. การนำเสนอประสบการณ์
ช่วยให้เด็กได้ทบทวนและจัดระบบประสบการณ์ของตนเอง
สิ่งที่นำเสนออาจมาจากการอภิปราย หาหัวข้อที่สนใจ การกำหนดคำถาม
การนำเสนอประสบการณ์ที่ตัวเองได้เรียนรู้ หาหัวข้อที่สนใจ การกำหนดคำถาม
การนำเสนอประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ เช่น การวาดภาพ การเขียน การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
บทบาทสมมติ สร้างสิ่งจำลอง เป็นต้น เพื่อเสนอให้เพื่อน ครู พ่อแม่ เข้าใจ
4.การสืบค้น
การสืบค้นสามารถใช้ข้อมูลที่หลากหลายวิธีตามความสนใจของเด็ก
เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด็กๆอาจสัมภาษณ์พ่อแม่ บุคคลในครอบครัว
ขณะที่ออกภาคสนาม เด็กสืบข้อมูลหลายรูปแบบใช้แว่นขยายส่องดูของเล็กๆ
สัมผัสการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การทดลอง การหาคำตอบจากห้องสมุด
เป็นต้น
5.การจัดเเสดง
ผลงานของเด็กทั้งที่เป็นรายบุคคล
รายกลุ่ม ซึ่งสามารถนำมาจัดแสดงได้ตลอดทุกระยะ
การดำเนินการตามโครงการเกิดการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้
เด็กและครูมีโอกาสได้บอกเรื่องราวของโครงการให้ผู้อื่นที่มาเยี่ยมเยือน
จากโครงสร้างทั้ง
5 จะอยู่ในระยะต่างๆ มี 3 ระยะ
•ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น
เป็นระยะสร้างความสนใจของเด็ก
•ระยะที่ 2 ระยะดำเนินโครงการ
เป็นระยะค้นหาคำตอบที่อยากรู้
•ระยะที่ 3 ระยะสรุปโครงการ
เป็นระยะสรุปและประเมินผล
และก็นำ กรอบมาตรฐานสาระการเรียนรู้ว่าบูรณาการในการสอน
-สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
-สาระที่ 2 การวัด
-สาระที่ 3 เลขาคณิต
-สาระที่ 4 พีชคณิต
-สาระที่ 5 การวิเคราะห์ความน่าจะเป็น
-สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสาตร์
วิธีการประเมินผล
ประเมินตามสภาพจริง คือ
การสังเกตเด็กจากการเล่นกลางแจ้ง การกระโดดของเด็ก จัดกลุ่มตามขนาดเล็กใหญ่ได้
โดยมีเกณฑ์การประเมินตามสภาพจริง เน้นการปล่อยให้เด็กปฏิบัติ
และสังเกตพฤติกรรมในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านอารมณ์และจิตใจ
ประเมินจากความสุนทรีของเด็กในการวาดภาพตามจินตนาการ
•เครื่องมือการประเมิน
แบบประเมินไม่เน้นเด็กในการอ่าน , เขียน แต่แบบประเมินจะประเมินตามพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน จะมีสมุดบันทึก… แบบรายงานประจำตัวเด็ก
และจะเก็บผลงานของเด็กเป็นแฟ้มสะสมงาน ดูผลงานทุกๆเดือน และสะสมเป็นรายปี
คู่มือการประเมินตามสภาพจริง มี 3 ระดับ 3 ชัดเจน 2 เท่ากับเกณฑ์ 1 ต่ำกว่าเกณฑ์
3.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น